ปกป้องข้อมูลภายในองค์กรให้ปลอดภัยด้วย DLP (Data Loss Prevention)
ในโลกของธุรกิจ ข้อมูล หรือ Data นั้น มีความสำคัญเป็นอย่างมากเลยทีเดียวค่ะ เพราะ Data นั้นมีผลต่อองค์กรทั้งในแง่ของการวิเคราะห์ข้อมูล, ช่วยในเรื่องของการตัดสินใจที่มีมูลค่า, การนำ Data เข้ามาช่วยในเรื่องของการปรับการดำเนินงาน, การเข้าถึงตลาด และการพัฒนานวัตกรรมต่างๆ ดังนั้น Data จึงเป็นอีกส่วนสำคัญสำหรับองค์กรที่จะต้องมีการป้องกันไม่ให้เกิดการรั่วไหล หรือช่องโหว่ที่อาจทำให้เหล่าแฮ็กเกอร์สามารถเข้าถึง Data ในส่วนต่างๆขององค์กรคุณได้ และนำมาสู่ภัยไซเบอร์หลายรูปแบบ เช่น การขโมยข้อมูลไปขาย, การโจรกรรมข้อมูลเพื่อเรียกค่าไถ่, การ Blackmail รวมไปถึง การนำข้อมูลไปแอบอ้างตัวตน เป็นต้น
บทความนี้แอดมินเลยอยากพาผู้อ่านทุกท่านมารู้จักกับ DLP (Data Loss Prevention) อีกหนึ่งโซลูชันสำหรับองค์กรที่กำลังมองหาโซลูชันที่จะสามารถปกป้อง Data ต่างๆ ภายในองค์กรของคุณกันค่ะว่า DLP คืออะไร มีความสามารถอย่างไร และองค์กรของคุณผู้อ่านจะสามารถปรับใช้โซลูชัน DLP กับภาคธุรกิจได้อย่างไรบ้าง ไปอ่านกันต่อเลยดีกว่าค่ะ
DLP คืออะไร?
DLP หรือ Data Loss Prevention (ระบบป้องกันการสูญเสียข้อมูล) เป็นโปรแกรมที่รวมเอาเทคโนโลยี ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ กลยุทธ์ และกระบวนการทำงานเข้าด้วยกันเพื่อใช้ป้องกันการเข้าถึงข้อมูลที่ละเอียดอ่อนขององค์กร เช่น ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลการเงิน ข้อมูลที่เป็นส่วนตัว หรือข้อมูลที่อาจส่งผลกระทบต่อองค์กรหรือลูกค้าได้ จากการตรวจจับและควบคุมโดย DLP ซึ่งอาจเป็นการระบุและควบคุมการส่งออกข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต รวมไปถึงการตรวจจับและป้องกันการคัดลอกข้อมูลไปยังอุปกรณ์พกพาหรือการส่งข้อมูลผ่านทางอีเมลหรือข้อความ นอกจากนี้ DLP ยังมีการตรวจสอบและควบคุมการเข้าถึงข้อมูลภายในองค์กรเพื่อป้องกันการสูญเสียและข้อมูลจากภัยคุกคามภายในได้อีกด้วยค่ะ
DLP ทำงานอย่างไร?
โซลูชัน DLP มีขั้นตอนการทำงานที่สามารถแบ่งออกเป็นขั้นตอนหลักๆ ดังนี้
1. การตรวจสอบและการจำแนกประเภทข้อมูล (Categorization and Detailed Data Inspection): ระบบ DLP จะทำการตรวจสอบและวิเคราะห์ และแยกประเภทข้อมูลต่างๆ เพื่อระบุความสำคัญ กำหนดสิทธิ์การเข้าถึงและการส่งข้อมูลให้กับบุคคลต่างๆ รวมไปถึงการจัดลำดับความสำคัญและจำกัดสิทธิ์ในการรับ ส่ง และเข้าถึงข้อมูล รวมทั้งติดตามการกระทำต่างๆ ที่เกิดกับข้อมูลได้นั่นเองค่ะ ในขั้นตอนนี้ทางองค์กรสามารถเลือกได้ว่าข้อมูลประเภทไหนจะมีการดำเนินการอย่างไร และมีความจำเป็นต้องป้องกันความปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน
2. การตรวจจับและการป้องกันการรั่วไหลข้อมูล (Detection and Prevention of Data Leakage): หลังจากที่มีการจำแนกประเภทของข้อมูลแล้ว ระบบ DLP จะตรวจสอบการใช้งานข้อมูลและการเคลื่อนย้ายข้อมูลภายในเครือข่ายหรือผ่านช่องทางอื่นๆ เพื่อตรวจจับการละเมิดและป้องกันการรั่วไหลข้อมูล ซึ่งโซลูชัน DLP นั้นจะคอยตรวจสอบทุกการเคลื่อนไหวของข้อมูลจากทุกช่องทาง ทั้งทางออนไลน์ เช่น Email, Application, Website, Social Media หรือ ช่องทางเซิร์ฟเวอร์ เช่น โปรแกรมหรือเซิร์ฟเวอร์ของบริษัท, ช่องทางอุปกรณ์ต่างๆ (Endpoint) อย่างเช่น โทรศัพท์มือถือ, คอมพิวเตอร์, โน้ตบุ๊ก และ USB เป็นต้นค่ะ
3. การแจ้งเตือนผู้ดูแลระบบ (System Administrator Notifications): โซลูชัน DLP จะทำการบล็อกการเคลื่อนย้ายข้อมูลที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือใช้การแจ้งเตือนผู้ดูแล ในกรณีที่พบการละเมิดข้อมูล หากพบว่ามีการกระทำเกินกว่าสิทธิ์ DLP จะทำการตรวจสอบและส่งการแจ้งเตือนการกระทำที่น่าสงสัยไปยังผู้มีหน้าที่ดูแลข้อมูล ซึ่งในที่นี้อาจเป็นคนหรือเป็นระบบ AI ที่ทำงานร่วมกัน
4. การบันทึกและการรายงาน (Logging and Reporting): หากพบว่ามีพฤติกรรมการใช้ข้อมูลหรือ Data ที่ผิดปกติ ระบบจะทำการส่งแจ้งเตือนให้แก่ผู้ดูแล ให้ประเมินความเหมาะสมและสามารถเลือกที่จะอนุญาตให้เข้าถึง, ยกเลิกการเข้าถึง, บล็อกการเข้าถึง, ตรวจสอบ หรือขอข้อมูลยืนยันสิทธิ์ผู้ใช้งานได้
หลังจากนั้นระบบ DLP จะมีการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานข้อมูลที่ผิดปกติเอาไว้ในรูปแบบของรายงาน ทำให้ทางองค์กรสามารถติดตามและวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้เพื่อการปรับปรุงนโยบายความปลอดภัยของข้อมูลในองค์กรของคุณได้นั่นเองค่ะ
ประโยชน์ของโซลูชัน DLP
ประโยชน์ของ DLP มีตั้งแต่ความสามารถในการจัดประเภทและตรวจสอบข้อมูล รวมถึงการปรับปรุงการมองเห็นและการควบคุมโดยรวมขององค์กรเอง แต่เดี๋ยวแอดมินจะขอยกประโยชน์ของโซลูชัน DLP มา 4 ข้อ ดังนี้ค่ะ
1. จัดประเภทและตรวจสอบข้อมูลที่ละเอียดอ่อน (Classify and monitor sensitive data): โซลูชัน DLP ช่วยให้องค์กรของคุณมีการจัดประเภทข้อมูลที่เป็นระบบมากยิ่งขึ้น และสามารถจัดการกับข้อมูลเหล่านี้ให้อยู่ภายในนโยบายความปลอดภัยของขององค์กรได้อย่างรัดกุมมากยิ่งขึ้น
2. การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับ (Maintain regulatory compliance): การใช้ DLP ช่วยให้องค์กรปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องเช่น กฎหมายความเป็นส่วนตัว (Privacy Laws) หรือการปฏิบัติตามข้อบังคับทางด้านความปลอดภัยข้อมูล (Data Security Regulations) ได้อย่างเหมาะสมอีกด้วยค่ะ
3. ปรับปรุงการมองเห็นและการควบคุม (Improve visibility and control): โซลูชัน DLP ช่วยให้องค์กรของคุณมองเห็นข้อมูลที่ละเอียดอ่อนภายในองค์กรได้ และช่วยให้องค์ของคุณเห็นว่าใครบ้างที่อาจส่งข้อมูลดังกล่าวให้กับผู้ใช้ที่ไม่ได้รับอนุญาต ทำให้องค์กรของคุณสามารถกำหนดขอบเขตของปัญหาที่เกิดขึ้นได้ และสามารถปรับแต่งเพิ่มเติมหรือวิเคราะห์นโยบายความปลอดภัยของข้อมูลต่างๆ ภายในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนั่นเองค่ะ
4. ป้องกันการสูญเสียทางธุรกิจ (Preventing Business Loss): DLP ช่วยลดความเสี่ยงในการสูญเสียข้อมูลทางธุรกิจ เช่น ความลับทางธุรกิจ ข้อมูลลูกค้า หรือข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจการและความเชื่อถือของลูกค้า
โซลูชัน DLP และการตรวจสอบความปลอดภัยของข้อมูล
โดยทั่วไปแล้ว ข้อมูลที่ DLP จะตรวจสอบ มีทั้งหมด 3 สถานะดังนี้ค่ะ
รูปภาพจาก : https://www.signority.com/2022/05/30/three-stages-of-data/
- ข้อมูลที่ถูกจัดเก็บไว้ต้นทาง (Data at Rest): เป็น Data หรือ ข้อมูล ที่ถูกจัดเก็บอยู่ใน Storage ขององค์กรนั่นเองค่ะ เช่น Storage Server, Files Server, Database หรือ ในรูปแบบของ Backup Image เป็นต้น ซึ่งในส่วนนี้อาจเก็บอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานได้เช่นกัน ตัวข้อมูลหรือ Data เองนั้นจะต้องมีความพร้อมในการใช้งานของข้อมูล (Availability), ความถูกต้องของข้อมูลที่ถูกจัดเก็บอยู่บน Server/Storage แต่ละเครื่อง (Data Integrity), และ Confidentiality ที่ว่าด้วยเรื่องของนโยบายของการเข้าถึงข้อมูล โดยจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับ authorized เท่านั้น
- ข้อมูลที่อยู่ระหว่างทาง (Data in Transit): เป็น Data หรือ ข้อมูลที่ทำการโอนย้ายข้อมูล (data transfer) ระหว่างอุปกรณ์ หรือ ระหว่างระบบ เช่น การส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ไปยังอีกเครื่องหนึ่ง ความต้องการในส่วนนี้จะเป็นเรื่องของการป้องกันข้อมูลระหว่างการจัดส่ง เช่นการใช้ VPN เพื่อป้องกันการดักขโมยข้อมูลระหว่างทาง ในลักษณะของ Man-in-the-Middle เป็นต้นค่ะ
- ข้อมูลที่ถูกใช้งานปลายทาง (Data in Use): เป็นข้อมูลที่ใช้งานอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งาน บางครั้งเราจะเรียกว่าข้อมูลที่อยู่บน Endpoint ของผู้ใช้งาน ในส่วนนี้จะเป็นเรื่องของการใช้งานของผู้ใช้งาน จะพูดในเรื่องของ Confidentiality และ Integrity คือ ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง และไม่มีการใช้งานผิดวัตถุประสงค์ การใช้งานข้อมูลในส่วนนี้จะเป็นเรื่องของ Email, Internet และการรับ-ส่งข้อมูลผ่านช่องทางต่างๆ โดยใช้คอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งาน
การเลือกใช้โซลูชัน DLP สำหรับองค์กรของคุณนั้นแอดมินแนะนำให้คุณผู้อ่านและทางองค์กรทำการค้นคว้าและการวางแผนก่อนการนำโซลูชัน DLP มาปรับใช้ในธุรกิจค่ะ เนื่องจากโซลูชัน DLP นั้นต้องใช้ทั้งเวลาและงบประมาณสมควรในการปกป้องข้อมูล อย่างเช่น ข้อมูลที่ละเอียดอ่อน, ข้อมูลส่วนบุคคล และชื่อเสียงของทางองค์กรเอง แต่ทั้งนี้ในการปกป้องข้อมูลหรือ Data ภายในองค์กรของคุณให้ปลอดภัย,ครอบคลุม และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนั้น ยังมีด้วยกันอีกหลายหลายโซลูชัน การเลือกปรึกษากับบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญและให้บริการด้านโซลูชันความปลอดภัย ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะทำให้องค์กรของคุณได้โซลูชันที่เหมาะสมกับการทำงานภายในองค์กรของคุณ ทั้งยังสามารถปกป้องข้อมูลภายในองค์กรของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วยค่ะ
ติดต่อสอบถาม Netmarks ได้ที่
Website Contact Us: https://www.netmarks.co.th/contact-us
E-mail: marketing@netmarks.co.th
Facebook: Netmarks Thailand
Line OA: @netmarksth
Tel: 0-2726-9600