OT Security ตอนที่ 4 ทำไมมาตรฐาน OT Security ถึงสำคัญ ที่องค์กรควรรู้! 

OT Security ตอนที่ 4 ทำไมมาตรฐาน OT Security ถึงสำคัญ ที่องค์กรควรรู้! 

สวัสดีค่ะ จากบทความที่แล้ว เราได้พูดถึงความท้าทายในการเพิ่มความปลอดภัยทางไซเบอร์ในระบบ OT (Operational Technology) กันไปแล้ว (สามารถตามไปอ่านได้ที่ อยากให้เกิด Security ในระบบ OT ต้องเริ่มอย่างไรดี?) วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับมาตรฐานและเฟรมเวิร์กที่จะช่วยให้องค์กรออกแบบระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นกันค่ะ! 💪 

ทำไมต้องมีมาตรฐาน OT Security? 🤔 

การรักษาความปลอดภัยในระบบ OT มีความซับซ้อน เนื่องจากต้องคำนึงถึงหลายปัจจัย มาตรฐานและเฟรมเวิร์กที่เราจะพูดถึงในวันนี้จะช่วยให้องค์กรมีแนวทางชัดเจนในการจัดการความเสี่ยงต่าง ๆ และทำงานได้อย่างราบรื่นและปลอดภัยมากขึ้นค่ะ 

มาตรฐาน ที่น่าสนใจ 🌟 

  • NIST Cyber Security Framework (CSF) 
    เฟรมเวิร์กนี้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง และมี 5 ขั้นตอนหลักที่ทุกองค์กรควรนำไปใช้ คือ 
  1. Identify (ระบุ): ทำความเข้าใจสภาพแวดล้อมและความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ เช่น ระบบ, บุคลากร, ทรัพย์สิน, และข้อมูล 
  1. Protect (ป้องกัน): ใช้มาตรการป้องกันที่เหมาะสม เพื่อจำกัดผลกระทบจากความเสี่ยงและภัยคุกคาม เช่น การจัดการข้อมูลส่วนบุคคลและการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล 
  1. Detect (ตรวจจับ): ตรวจหาเหตุการณ์ที่ผิดปกติ เพื่อสามารถค้นพบปัญหาได้ทันท่วงที โดยมีกระบวนการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง 
  1. Respond (ตอบสนอง): วางแผนและดำเนินการตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงการสื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 
  1. Recovery (กู้คืน): กู้คืนระบบที่ได้รับความเสียหายจากการโจมตีทางไซเบอร์ โดยมีการวางแผนการกู้คืนและปรับปรุงแผนการให้เหมาะสมกับภัยคุกคาม 
     

โดยนอกจากนี้เรายังสามารถนำ NIST CSF ไปใช้งานร่วมกับ Standard อื่น ๆ ได้อีกเช่น 

  • ISA/IEC 62443 เป็น Framework หรือ กรอบการทำงานที่ลดช่องโหว่ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ในระบบควบคุมอัตโนมัติและอุตสาหกรรม พัฒนาขึ้นโดย ISA99 และได้รับการรับรองจาก International Electrotechnical Commission (IEC) ซึ่งใน Framework ก็ยังได้ถูกนำไปอยู่ใน Standard และ Framework   อื่น ๆ เช่น NERC CIP, NIST-Directive, และ NIST CSF เป็นต้น 
  • NIST 800-53 มาตรฐานนี้เน้นการรักษาความมั่นคงปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลองค์กร เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากภัยคุกคามต่าง ๆ 
  • NIST 800-82 มุ่งเน้นการรักษาความปลอดภัยในระบบควบคุมอิเล็กทรอนิกส์เชิงอุตสาหกรรม เช่น SCADA, DCS และ PLC ที่มีการเชื่อมโยงกันระหว่างระบบกับระบบผ่านการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานให้เชื่อมกัน  
  • NERC CIP มาตรฐานนี้จัดทำโดย NERC เป็นองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไรของ ประเทศอเมริกา เพื่อปกป้องระบบไฟฟ้า ในประเทศอเมริกาเหนือ NERC มีข้อกำหนดเฉพาะในการป้องกันสินทรัพย์ด้าน ICT ที่สำคัญต่อความเสถียรของระบบไฟฟ้า

สรุป 📝 

มาตรฐานที่กล่าวถึงนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ในระบบ OT องค์กรควรให้ความสำคัญกับการเลือกใช้มาตรฐานที่เหมาะสม เพื่อปิดช่องโหว่และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดียิ่งขึ้น  

บริษัท Netmarks (Thailand) บริการให้คำปรึกษาด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ทั้งในระบบ OT และ IT พร้อมมีสิทธิพิเศษ Fortinet OT Firewall Promotion!! นี้มีถึง 31 ธันวาคม 2024 เท่านั้น!! สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือต้องการปรึกษาได้ที่ Contact Netmarks (Thailand) ได้เลยค่ะ 

 
หากต้องการอ่านบทความด้วย  

Platform Facebook คลิกที่ลิงก์:ทำไมมาตรฐาน OT Security ถึงสำคัญ ที่องค์กรควรรู้! 
Platform Line OA คลิกที่ลิงก์: ทำไมมาตรฐาน OT Security ถึงสำคัญ ที่องค์กรควรรู้!  

 
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: https://www.cyberelite.co.th/blog/มาตรฐาน-ot-security/

ติดต่อสอบถาม Netmarks ได้ที่      

Website Contact Us: https://www.netmarks.co.th/contact-us    

E-mail: marketing@netmarks.co.th  

Facebook: Netmarks Thailand   

Line OA: @netmarksth    

Tel: 0-2726-9600 

Similar Posts